Menu

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

VDO Gallery


ส.พัน.22 พัฒนาขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ด้วยเท้า ประจำเดือน ก.ย. 56 เมื่อ 13 ก.ย.56 เวลา 0830




ส.พัน.22 ฝึกซักซ้อมแผนป้องกันอัคคีภัยตามวงรอบฯ ณ ร้อย.บก.ส.พัน.22 เมื่อ 22 ส.ค. 56 เวลา 1330

 
ส.พัน.22 จัดกิจกรรม "โครงการปลูกพืชเศรษฐกิจ" น้อมเกล้าถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ของ กองพันทหารสื่อสารที่ 22 โดยมี พ.ท.พิชิตชัย ทองตันไตรย์ ผบ.ส.พัน.22 พร้อมกำลังพลและชุมชนเดชอุดมสามัคคี ร่วมกิจกรรม ณ ส.พัน.22 เมื่อ 15 ส.ค. 56



ส.พัน.22 จัดกิจกรรม "ครอบครัวต้นไม้" น้อมเกล้าถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ของ กองพันทหารสื่อสารที่ 22 โดยมี พ.ท.พิชิตชัย ทองตันไตรย์ ผบ.ส.พัน.22 ได้นำกำลังพลพร้อมครอบครัวร่วมกิจกรรม  ณ ชุมชนทหาร ส.พัน.22 (หน้า รพ.ค่ายสุรนารี) เมื่อ 14 ส.ค. 56


ผบ.ส.พัน.22 เป็นประธานเปิดการอบรม หลักสูตรรหัสมอร์ส ให้กับ นขต.ทภ.2 จำนวน 21 หน่วย เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 56 และทำการอบรมห้วง 5 - 30 ส.ค.56 ณ ห้องเรียน ร้อย.วศข.ส.พัน.22 ค่ายสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา




พล.ท.จีระศักดิ์ ชมประสพ มทภ.2 ได้กรุณาเป็นประธาน เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาเหล่าทหารสื่อสาร ครบรอบปีที่ 89 เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 56 ณ กองพันทหารสื่อสารที่ 22


วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เรียนรหัสมอร์สผ่านคลิปวีดีโอ

รหัสมอร์สออนไลน์ (สมัครสมาชิกฟรี)

บทเรียน รหัสมอร์ส รวบรวมโดย ส.พัน.22

บทเรียน บทความ เรียนรู้ รหัสมอร์ส รวบรวมโดย ส.พัน.22

รหัสมอร์ส คือ วิธีการส่งข้อมูลด้วยการใช้รูปแบบสัญลักษณ์สั้นและยาวที่กำหนดขึ้นเป็น
มาตรฐานไว้แล้ว ซึ่งมักจะแทนด้วยเครื่องหมายจุด ( • )อ่านว่า ดิด (สำหรับท่องจำ)
และ เครื่องหมายขีด ( – ) อ่านว่า ดา (สำหรับท่องจำ)
ผสมกันเป็นความหมายของตัวหนังสือตัวเลขและเครื่องหมายพิเศษต่างๆ
พยัญชนะไทย
อักษร
รหัสมอร์ส
อักษร
รหัสมอร์ส
– – •ข ฃ– • – •
ค ฆ– • –– • – – •
– • • – •– – – –
– • • –– – • •
• – – –ด ฎ– • •
ต ฏถ ฐ– • – • •
ท ธ ฑ ฒ– • • – –น ณ– •
– • • •• – – •
– – • –– • – • –
พ ภ• – – • •– –
– • – –• – •
• – • •• – –
ส ศ ษ• • •• • • •
– – –– – • – –
ฤๅ ฤ ฦๅ ฦ• – • – –
สระ
อักษร
รหัสมอร์ส
อักษร
รหัสมอร์ส
อะ• – • • •อา• –
อิ• • – • •อี• •
อึ• • – – •อื• • – –
อุ• • – • –อู– – – •
เอแอ• – • –
ไอ ใอ• – • • –โอ– – –
อำ• • • – •
วรรณยุกต์
รหัสมอร์ส
อักษร
รหัสมอร์ส
ไม้เอก• • –ไม้โท• • • –
ไม้ตรี– – • • •ไม้จัตวา• – • – •
เครื่องหมาย
อักษร
รหัสมอร์ส
อักษร
รหัสมอร์ส
ไม้หันอากาศ• – – • –ไม้ไต่คู้• – – – •
การันต์– – • • –ไม้ยมก– • – – –
ไปยาลน้อย (ฯ)– – • – •ไปยาลใหญ่ (ฯลฯ)– – – • –
เครื่องหมายคำพูด• – • • – •วงเล็บ– • – – • –
ตัวเลข
อักษร
รหัสมอร์ส
อักษร
รหัสมอร์ส
1• – – – –2• • – – –
3• • • – –4• • • • –
5• • • • •6– • • • •
7– – • • •8– – – • •
9– – – – •0– – – – –
รหัสมอร์สมาตรฐานสากล
ตัวอักษรรหัสมอร์สตัวอักษรรหัสมอร์สตัวอักษรรหัสมอร์สตัวอักษรรหัสมอร์ส
A (ข้อมูล)·–J (ข้อมูล)·– – –S (ข้อมูล)···1 (ข้อมูล)·– – – –
B (ข้อมูล)–···K (ข้อมูล)–·–T (ข้อมูล)2 (ข้อมูล)··– – –
C (ข้อมูล)–·–·L (ข้อมูล)·–··U (ข้อมูล)··–3 (ข้อมูล)···– –
D (ข้อมูล)–··M (ข้อมูล)– –V (ข้อมูล)···–4 (ข้อมูล)····–
E (ข้อมูล)·N (ข้อมูล)–·W (ข้อมูล)·– –5 (ข้อมูล)·····
F (ข้อมูล)··–·O (ข้อมูล)– – –X (ข้อมูล)–··–6 (ข้อมูล)–····
G (ข้อมูล)– –·P (ข้อมูล)·– –·Y (ข้อมูล)–·– –7 (ข้อมูล)– –···
H (ข้อมูล)····Q (ข้อมูล)– –·–Z (ข้อมูล)– –··8 (ข้อมูล)– – –··
I (ข้อมูล)··R (ข้อมูล)·–·0 (ข้อมูล)– – – – –9 (ข้อมูล)– – – –·
เครื่องหมาย
เครื่องหมายรหัสมอร์สเครื่องหมายรหัสมอร์ส
มหัพภาค [.]·–·–·–ทวิภาค [:]– – –···
จุลภาค [,]– –··– –อัฒภาค [;]–·–·–·
ปรัศนี [?]··– –··เสมอภาค [=]–···–
ฟันหนูซี่เดียว [']·– – – –·เส้นแบ่งเศษส่วน–··–·
อัศเจรีย์ [!]–·–·– –ยัติภังค์ [-]–····–
ทับ [/]–··–·ขีดล่าง [_]··– – ·–
วงเล็บเปิด [(]–·– –·อัญประกาศ ["]·–··–·
วงเล็บปิด [)]–·– –·–เครื่องหมายดอลลาร์ [$]···–··–
เครื่องหมายและ [&]·–···[1]เครื่องหมาย At [@][2]·– –·–·

 ระเบียบการวิทยุโทรเลข (สำหรับดาวน์โหลด เพื่อศึกษา) 
 ฝึกจำด้วยกระบวนการ dichotomic search ดังรูป
...................................
 รหัสมอร์สมาตรฐานสากล (เป็นรูปภาพ)


 เกมส์ฝึกกดรหัสมอร์ส (ฝึกฟังและฝึกกด)

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

แนวทางการปฏิบัติงาน


หน้าที่พลเมือง
มีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม
สรุปหน้าที่พลเมือง ได้แก่ การรักษา ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์







การรักษาชาติ หมายถึง การดูแลและป้องกันชาติ ไม่ให้ผู้ใดแบ่งแยกแผ่นดินไทยด้วยเหตุผลทางการเมือง การปกครอง หรือศาสนา

การรักษาศาสนา หมายถึง ทุกคนต้องรักษาศาสนาด้วยการบำรุงรักษาและสร้างเสริมศรัทธาต่อศาสนา

การรักษาพระมหากษัตริย์ หมายถึง การรักษาและเทิดทูน องค์พระมหากษัตริย์ไว้ด้วยชีวิต

อุดมการณ์ หมายถึง   จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐานแห่งความดีงามและความจริง ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตอันสูงสุด ที่จูงใจให้มนุษย์มุ่งมั่นที่จะทำเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายแห่งชีวิตนั้น

อุดมการณ์ทหาร หมายถึง มาตรฐานแห่งความดีงามอันสุดยอดในหน้าที่ของนักรบของชาติ ที่มุ่งมั่นอุทิศตนเพื่อให้บรรลุถึง ในการปกป้องรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประชาชน และเกียรติศักดิ์ทหาร  ซึ่งหากกำลังพลทุกระดับชั้นได้ประพฤติปฏิบัติแล้ว จะเป็นทหารที่ดีที่สุด

ความสำคัญของอุดมการณ์ทหาร
 1.เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเป็นทหารอาชีพ  
 2.เป็นแนวทางให้ทหารเกิดความสำนึกในหน้าที่  ยึดมั่นในผลสำเร็จของภารกิจ
 3.เป็นหลักประกันว่าผู้มีอุดมการณ์ทหารที่ฝังแน่นและ กล้าแกร่ง จะนำผลดีมาสู่กองทัพและประเทศชาติ

ผู้นำกับการพัฒนาอุดมการณ์ทหาร
ผู้บังคับบัญชาพึ่งแสดงตนเป็นตัวอย่างที่ดีในความประพฤติความเป็นอยู่  และการปฏิบัติงานแก่ใต้บังคับบัญชา
กำลังพลทุกระดับชั้นต่างมีเกียรติเท่าเทียมกัน เมื่ออยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่นและเข้าใจกันดี  ย่อมจะก่อให้เกิดทั้งความเข้มแข็งและประสิทธิภาพแก่หน่วย

ค่านิยมและมาตรฐานกองทัพบก
ค่านิยม     คือ หลักพื้นฐานคุณธรรมที่ควรใช้เป็น แนวทางในการพัฒนาตน ไปสู่รูปแบบของการ เป็นทหารที่ต้องกา

มาตรฐาน คือ อำนาจทิศทางในการชี้วัดที่กำหนดวิถีทางของความประพฤติ และ การปฏิบัติซึ่งส่งผลต่อสภาพของขวัญและกำลังใจและพื้นฐานของคุณธรรมซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเหมาะสมของสังคม

ค่านิยมที่ผู้บังคับบัญชาและกำลังพลทุกระดับชั้นควรยึดถือ  เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
 การให้เกียรติซึ่งกันและกัน หมายถึง การไม่มีอคติและความลำเอียงต่อกันและกัน การให้เกียรติซึ่งกันและกันจะต้องมีมาก่อนเรื่องอื่นๆ

การไม่ละทิ้งต่อหน้าที่ (ความซื่อตรงต่อหน้าที่) คือ ตั้งใจกระทำกิจการ ซึ่งได้รับมอบให้เป็นหน้าที่ของตนนั้น  โดยซื่อสัตย์สุจริต ใช้ความอุตสาหะ  วิริยะเต็มสติกำลังของตนด้วยความมุ่งหมายให้กิจการนั้นๆบรรลุถึง ด้วยความสำเร็จ
ความไม่เห็นแก่ตัว หมายถึง ทำอะไรไม่มุ่งหมายแต่จะเอามาเพื่อตนฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวม ทหารต้องมีความความเสียสละอย่างสูง แม้ว่าจะต้องเสียสละชีวิตของตนเอง


กิจกรรมในการฝึกให้เกิดค่านิยมความไม่เห็นแก่ตัว
ความกล้าหาญ
ทหารจะต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติการรบ มีความอดทนและอดกลั้นในขณะทำการรบ
 ความกล้าหาญแบ่งออกเป็น
          ความกล้าหาญทางกาย หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่ต้องเผชิญกับการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเพื่อนร่วมงาน
          ความกล้าหาญทางใจ หมายถึง ความกล้าหาญที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้องแม้ว่าจะไม่มีใครรู้ หรือมีความเสี่ยงต่ออันตรายทั้งปวง

ความมีวินัย
  - การมีวินัยและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
  - วินัยเป็นการบ่มเพาะในการควบคุมและสร้างความมั่นใจให้กับทหาร
  - การมีวินัยที่ดี กำลังพลทุกนายจะต้องเข้าใจต่อกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และแบบธรรมเนียมทหารโดย ถ่องแท้
  -วินัยที่ดีที่สุด คือ “วินัยในตัวเอง 


การดำรงความเป็นหน่วย
          - มีความสำคัญต่อการเป็นทหารอย่างยิ่ง
          - เพื่อให้เกิดความเป็นหน่วย ทหารจะต้องมีความไว้วางใจและมีความซื่อสัตย์ต่อกัน
          - ทหารจะต้องฝึกการทำงานเป็นทีม

ความจงรักภักดี
  •         เป็นการหล่อหลอมกำลังพลทุกระดับชั้นเข้าด้วยกัน
  •         เป็นการสร้างให้ทหารมีความรู้สึกร่วมในความเป็น หน่วย
  •         ความจงรักภักดีมีทั้งจาก ผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ,ผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชา  , กองทัพบกต่อกำลังพลทุกชั้น
ความจงรักภักดีของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  
จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความรู้สึกมั่นใจว่า จะได้รับการเอาใจใส่และการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชา


ความจงรักภักดีของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชา 
เป็นการแสดงออกในเรื่องของข้อบังคับ    ความเสียสละส่วนตัวความกล้าหาญความสุภาพ  เรียบร้อย และการดำรงความเป็นหน่วย


ความจงรักภักดีของกองทัพบกต่อกำลังพลทุกระดับชั้น  จะเห็นได้จากระเบียบ คำสั่ง และแบบธรรมเนียมทหาร ซึ่งมีการระบุถึง ความยุติธรรมและสิทธิของกำลังพล

มาตรฐานของกองทัพบก
ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นหลักประกันต่อความประพฤติของ
ทหารว่า     ได้ปฏิบัติตนอยู่ภายใต้กฎหมาย และมีความเป็น
ทหารอาชีพอย่างแท้จริง ประกอบด้วย
               - การเคารพกฎหมาย
               - มีความประพฤติที่เหมาะสม
               - ความเป็นทหารอาชีพ

การเคารพกฎหมาย
  •     กำลังพลทุกนายจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศ  ไม่ว่าจะรับราชการอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม

  •     เมื่อเข้าสู่ภาวะสงคราม กำลังพลทุกนายจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ กฎแห่งการปะทะกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อาวุธ และกฎจารีตประเพณีความเป็นทหารอาชีพ
















     



วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

KM กองพันทหารสื่อสารที่ 22 (ความรู้ทางทหาร)



กองพันทหารสื่อสารกองทัพภาค

                กองทัพภาคเป็นหน่วยบัญชาการหน่วยทหารขนาดใหญ่ขึ้นตรงต่อกองทัพบก มีภารกิจในการควบคุมบังคับบัญชาทั้งหน่วยส่วนภูมิภาค (มทบ. , จทบ.) และหน่วยกำลังรบ (กองพลและหน่วยขึ้นสมทบอื่นๆ) ด้านการสื่อสารมี ฝสส.ทภ. (อัตรา พันเอก) เป็นนายทหารฝ่ายอำนวยการทางการสื่อสาร ซึ่งทำหน้าที่ให้คำแนะนำ , กำกับดูแลด้านการสื่อสารของ ทภ. แก่แม่ทัพภาค โดยทั่วไป ฝสส. มีภารกิจหลักๆ ดังนี้
                1.ให้คำแนะนำในเรื่องการสื่อสารแก่ มทภ. และฝ่ายอำนวยการต่างๆ รวมทั้งการทำแผนและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดระบบการสื่อสารของ มทภ.
                2. กำกับดูแลเรื่องการติดตั้ง    ปฏิบัติงานและบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารของหน่วยต่างๆ ในอัตรา ทภ. รวมทั้งหน่วยที่มาขึ้นสมทบและของหน่วยสนับสนุนให้เป็นไปตามแผน
                3. ประสานการปฏิบัติกับ  หน่วยทหารสื่อสารที่จะให้การสนับสนุน และกับ ฝสส. หน่วยเหนือ และหน่วยข้างเคียง
                4. เตรียมทำแผนการย้ายและขยายระบบการ ส. ที่มีอยู่แล้ว
                5. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การจัดหาและการทดแทน จนท.สื่อสาร
                6. ประสานการปฏิบัติกับนายทหารส่งกำลังบำรุง    เกี่ยวกับการส่งกำลังและการซ่อมบำรุงสายสื่อสารต่อยุทโธปกรณ์สายสื่อสารตามอัตรา
                7. กำกับดูแล การรักษาความปลอดภัยในการสื่อสาร   ตลอดจนการกำกับดูแลการใช้ระบบการอักษรลับ (ทั้งประมวลและรหัส) และการรับรองฝ่าย
                8. ช่วยในการเลือกที่ตั้ง ทก. และเลือกที่ตั้งทางการสื่อสารภายใน  ทก. กับให้ข้อเสนอแนะในการทำข้อ 5 ของคำสั่งยุทธการ ซึ่งในข้อนี้จะระบุที่ตั้งขั้นต้นและที่ตั้งขั้นต่อๆไปของ ทภ.
                9. ช่วยในการเตรียมทำคำสั่งชี้แจงนโยบายการฝึกสื่อสาร      และการกำกับดูแลการเทคนิคแก่เจ้าหน้าที่สื่อสารทั้งปวง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้บังคับบัญชากำหนด
                10. รักษา นปส. และ นสป. ที่ได้รับจาหน่วยเหนือและคัดแยก เพื่อเสนอให้อนุมัติใช้ภายในหน่วย
                11. เตรียมคำสั่ง และ รปจ. เสนอให้อนุมัติใช้  ทั้งนี้ให้แน่ใจว่าได้มีการควบคุมระบบการสื่อสารนั้นทางยุทธวิธีและทางเทคนิค
                12. ทำและรักษาสถิติ หรือสถานภาพทางการสื่อสารภายใน ทภ.
                เพื่อให้ บก.ทภ. สามารถควบคุม บังคับบัญชาทางยุทธวิธีและประสานการปฏิบัติหน่วยรองและหน่วยข้างเคียงได้โดยสมบูรณ์ ทบ. จึงอนุมัติใช้ อจย.11 – 55 (3 ต.ค.23) กองพันทหารสื่อสาร กองทัพภาค เพื่อให้การสนับสนุนการสื่อสารแก่ บก.ทภ. กองพันทหารสื่อสาร กองทัพภาค มีการจัดหน่วยดังนี้

กองพันทหารสื่อสาร กองทัพภาค
อจย. หมายเลข 11 – 55 ( 3 พ.ย. 23)

1. ภารกิจ จัดวางการสื่อสารประเภทวิทยุ การสื่อสารประเภทสาย และจัดตั้งศูนย์ข่าว ให้กับกองบัญชาการกองทัพภาค รวมทั้งวางการสื่อสารทางสายด้วยวิทยุถ่ายทอดจากกองบัญชาการกองทัพภาค ไปยังหน่วยรองหลักของกองทัพภาค หน่วยขึ้นสมทบ หน่วยขึ้นการควบคุมการยุทธการ และหน่วยอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
2. ขีดความสามารถ
                2.1 สามารถให้การสนับสนุนการติดต่อสื่อสารแก่กองทัพภาคที่มี 2 – 4 กองพล
                2.2 ติดตั้งปฏิบัติการ และดำรงการสื่อสารประเภทวิทยุ ด้วยชุดวิทยุโทรพิมพ์ได้ไม่เกิน 15 ชุด พร้อมกันต่อหนึ่งหมวดวิทยุ
                2.3 จัดชุดวิทยุสนับสนุน ส่วนบังคับบัญชา และอำนวยการกองบัญชาการกองทัพภาคได้ไม่เกิน 6 ชุดต่อหนึ่งหมวดวิทยุ
                2.4 จัดตั้งศูนย์ข่าว พร้อมบริการนำสารยานยนต์ได้ 1 ศูนย์ข่าว
                2.5 จัดวางการสื่อสารทางสายวิทยุถ่ายทอด ด้วยระบบวิทยุถ่ายทอดขนาด 12 ช่องเสียงได้ 3 ระบบพร้อมกันต่อหนึ่งหมวดวิทยุถ่ายทอด และติดตั้งปฏิบัติการ และดำรงการสื่อสารทางสายได้ไม่เกิน 100 ทางสาย
                2.6 บริการภาพนิ่ง รวมทั้งล้าง อัด ขยายภาพนิ่ง
                2.7 ทำการรบอย่างทหารราบ เมื่อจำเป็น

3. ผังการจัด

กองบังคับการและกองร้อยกองบังคับการ

  1. ภารกิจ
    1. ควบคุมประสานการปฏิบัติและการฝึกภายในกองพัน และจัดให้มีอุปกรณ์สำหรับกองบังคับการ เพื่อการควบคุมและการบังคับบัญชากองพัน
    2. วางแผน , อำนวยการ , กำกับดูแลประสานการปฏิบัติการสื่อสารของ กองทัพภาค
    3. จัดบริการ การภาพให้แก่กองทัพภาค
    4. สนับสนุนการส่งกำลัง สำหรับกองบังคับการและกองร้อยกองบังคับการ และกองร้อยต่างๆ ของกองพัน
  1. ขีดความสามารถ
    1. วางแผนบังคับบัญชา ควบคุม ประสานการฝึก และการปฏิบัติงานของกองพัน
    2. สนับสนุนงานธุรการ และการส่งกำลังบำรุงส่ำหรับกองพัน รวมทั้งการจัดการกำลังพลเป็นส่วนรวม
    3. บริการภาพนิ่ง รวมทั้ง ล้าง อัด ขยาย ภาพนิ่ง
    4. ดำเนินการซ่อมบำรุงยานยนต์ของกองพัน เป็นส่วนรวม
    5. ให้การรักษาพยาบาลกำลังพลของกองพัน
    6. ทำการรบอย่างทหารราบ เมื่อจำเป็น

  1. ผังการจัด

กองร้อยวิทยุและศูนย์ข่าว

1. ภารกิจ  จัดให้มีการสื่อสารประเภทวิทยุ และจัดตั้งศูนย์ข่าวให้แก่กองบัญชาการกองทัพภาค รวมทั้งการสื่อสารประเภทวิทยุไปยังหน่วยต่างๆ ตามภารกิจของกองพัน
2. ขีดความสามารถ
                2.1 ติดตั้ง ปฏิบัติการ และดำรงการสื่อสารประเภทวิทยุ ด้วยชุดวิทยุโทรพิมพ์ได้ไม่เกิน 15 ชุด ต่อหนึ่งหมวดวิทยุ
                2.2 จัดชุดวิทยุสนับสนุนส่วนบังคับบัญชา และอำนวยการได้ไม่เกิน 6 ชุด ต่อหนึ่งหมวดวิทยุ
                2.3 จัดชุดวิทยุโทรพิมพ์สนับสนุน  กองบัญชาการช่วยรบกองทัพภาค ได้ไม่เกิน 2 ชุด
                2.4 จัดชุดวิทยุติดต่อข่ายการบินทหารบก ได้ไม่เกิน 2 ชุด
                2.5 จัดตั้งศูนย์ข่าวพร้อมบริการนำสารยานยนต์ได้ 1 ศูนย์ข่าว
                2.6 ทำการรบอย่างทหารราบ เมื่อจำเป็น
3. ผังการจัด

กองร้อยสายและวิทยุถ่ายทอด

1. ภารกิจ  จัดให้มีการสื่อสารประเภทสายได้แก่     กองบัญชาการกองทัพภาค รวมทั้งการวางการสื่อสารทางสายด้วยวิทยุถ่ายทอด จากกองบัญชาการกองทัพภาค ไปยังหน่วยรองหลัก ของกองทัพภาคหน่วยขึ้นสมทบ หน่วยขึ้นการควบคุมทางยุทธการ และหน่วยอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
2. ขีดความสามารถ
                2.1 ติดตั้ง ปฏิบัติการและดำรงการสื่อสารทางสายได้ไม่เกิน 100 ทางสาย
                2.2 จัดวางการสื่อสารทางสายด้วยวิทยุถ่ายทอด ด้วยระบบวิทยุถ่ายทอดขนาด 12 ช่องเสียงได้ 3 ระบบพร้อมกันต่อหนึ่งหมวดวิทยุถ่ายทอด
                2.3 ทำการรบอย่างทหารราบได้เมื่อจำเป็น
  1. ผังการจัด


วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท





แต่ต้นปีที่ผ่านมาโครงการทำนา  1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ซึ่งดำเนินการโดย หอการค้าไทย  หอการค้าจังหวัดขอนแก่น บริษัท เทคโนโลยีสรรพสิ่ง จำกัด ร่วมกับเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ได้มีการศึกษา ทดลอง ปฏิบัติ พบว่าโครงการ การทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน สามารถปฏิบัติได้จริง จนสามารถขยายตัวออกไปถึง 52 จังหวัดทั่วประเทศ ทำให้เกษตรกรชาวนาได้เห็นประจักษ์ถึงแนวคิดและความรู้ในการทำนาแบบ เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ ซึ่งยังคงคุณค่าแบบ “นาสวน” ในสมัยโบราณไว้ได้เป็นอย่างดี

ผลจากการขยายตัวของโครงการฯ ทำให้มีชาวนาและผู้สนใจจำนวนมากต้องการเรียนรู้ และสอบถามไปที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ถึงการเปิดการอบรมหลักสูตร ทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท เข้ามาเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา

คุณอดิศร พวงชมภู ประธานโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท หอการค้าไทย ได้กรุณาเล่าถึงพัฒนาการของโครงการฯ ว่า องค์ความรู้ดั้งเดิมในแปลงนาได้ฟื้นกลับมาอย่างรวดเร็ว การค้นพบเรื่องที่น่าสนใจใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย เช่น วันนี้ กุ้งฝอยซึ่งเลี้ยงในนาข้าว กิโลกรัมละ 200 บาท แต่หลังฝนราคาจะขยับไปเป็น 250-300 บาท และสามารถเลี้ยงได้ในแปลงนาที่มีคูน้ำ ตามแบบแปลงนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสน เพียงเริ่มต้นจากกุ้งตัวเล็ก 100,000 ตัว ลงทุน 400 บาท สร้างแพลงก์-ตอนเขียวด้วยเทคโนโลยี “สรรพสิ่ง” ให้กินก็เติบโตอย่างรวดเร็วในเวลา 5 เดือนได้กุ้งฝอยถึง 500 กิโลกรัม รวมกับรายได้จาก ปลาดุก 10,000 ตัว,  ปลานิล 2,000 ตัว,  หอยขม 200 กิโล กรัม,  กบ  3,000 ตัว คิดราคาแบบถูกกว่าท้องตลาดโดยทั่วไป โดยปลาดุกที่ตัวละ 10 บาท, ปลานิลตัวละ 10 บาท, หอยขมกิโลกรัมละ 50 บาท, กบตัวละ 10 บาท ก็จะเห็นรายได้ที่เกิดจากความรู้เรื่องการประมงในนาข้าวอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังมีรายได้เพิ่ม
เติมจากการปลูกผักและเลี้ยงเป็ดในพื้นที่อีกต่างหาก

“บน คันนากว้าง 1 เมตรครึ่ง ปลูกข้าวโพดหวานห่างกันต้นละ 50 เซนติเมตร คันนาโดยรอบมีความยาว 160 เมตร จะได้ข้าวโพด 1,920 ต้น ได้ข้าวโพดต้นละ 2 ฝัก รวมผลผลิต 3,840 ฝัก ต้มขาย   ฝักละ 10 บาท ราคาในกรุงเทพฯ ฝักละ 15 บาทเพียง 60 วันก็ได้เงินแล้ว” ประธานโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท หอการค้าไทยกล่าว

ขณะที่รายได้จากปศุสัตว์ในการเลี้ยงเป็ดไข่อย่างชาวนาในโครงการฯ พื้นที่จังหวัดเชียงรายที่พบว่า เลี้ยงเป็ด 20 ตัว ออกไข่ 20 ฟองตลอดสัปดาห์ส่วนที่ภาคอีสานได้ไข่ 100 % คือจำนวนไข่เท่ากับจำนวนเป็ดที่เลี้ยง
    
จากผลสำเร็จของเกษตรกรชาวนาในโครงการฯ หลายพื้นที่ยังมาซึ่งความสนใจของเกษตรกรชาวนาเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ของโครงการทั้ง 3 ท่าน คือ อาจารย์กิตติ์ธเนศ รังคะวรเศรษฐ์, อาจารย์เสถียร ทองสวัสดิ์ และอาจารย์อดิศร พวงชมภู  จึงกำหนดการเปิดอบรมหลักสูตร “ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท” อีกครั้งซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของปี 2555 ขึ้น  โดยจัดที่ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นหลักสูตร 3 วัน 2 คืน ในระหว่างวันที่ 19-20-21 ตุลาคม 2555 นี้

นอกจากนี้ทางสถาบันเทคโนโลยีเกษตรสรรพสิ่ง ยังได้ร่วมมือกับสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จัดทำโครงการเกษตรตามพ่อ 9 กล้า 9 ไร่ 9 แสน ซึ่งเป็นโครงการอบรมระยะยาวเต็มเวลา  5 เดือน และได้ดำเนินการมาแล้ว 2 รุ่น และกำลังดำเนินการรับสมัครรุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 ในเดือนตุลาคม 2555 นี้เช่นกัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ต.คลองหนึ่ง  อ.คลองหลวง  จ.ปทุมธานี  โทรศัพท์  0-2529-2212-13 ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2555 ทุกวัน เวลา 08.30–17.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์.